วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563


 บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหาร

การแปรรูปอาหาร (Food Processing) ก็คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีการผลิตจนทำให้สภาพตามธรรมชาติเปลี่ยนไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อความปลอดภัย เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรักษา หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณพ์โดยสร้างแบรด์ธุรกิจเป็นของตนเอง กระบวนการแปรรูปที่ธุรกิจ SME นิยมทำก็คือ การอัดใส่กระป๋อง การแช่แข็ง การแช่เย็น การดึงน้ำออก การถนอมด้วยน้ำตาลหรืออบแห้ง และการทำให้ปลอดเชื้อ บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหารแปรรูป จึงนอกจากจะต้องเหมาะกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ และมีความปลอดภัยแล้ว การออกแบบยังต้องมีความโดดเด่นน่าสนใจ เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค เช่น เป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ประเภทบรรจุภัณฑ์อาหารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

1.กล่องกระดาษแข็งแบบท่อ

กล่องกระดาษแข็งแบบท่อ เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีหลากหลายรูปแบบและมีคุณสทบัติที่แตกต่างกัน การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณพ์ให้มีความแข็งแรงจะช่วยปกป้องรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารระหว่างการขนส่งและการจำหน่าย กรณีเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ต้องแช่เย็นหรือแช่แข็ง  การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะต้องมีการเคลือบกล่องกระดาษด้วยสารทนน้ำและความชื้น เช่น ขี้ผึ้งหรือพลาสติก

2.กล่องกระดาษแข็งแบบถาด

กล่องกระดาษแข็งแบบถาด เป็นบรรจขุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สามารถแยกประเภทการใช้งานได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

  • แบบที่พับได้และสามารถขึ้นรูปใช้งานได้ทันที
  • ถาดกระดาษแข็งแบบขึ้นรูป บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มรูปแบบนี้มีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับ

การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบหรือผู้ประกอบการที่ต้องการถาดกระดาษแข็งแบบขึ้นรูปในลักษณะใด

3.บรรจุภัณฑ์การ์ด

การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์การ์ดกับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป จะทำให้สามารถมองเห็นสินค้าที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ได้ เพราะเป็นกล่องกระดาษที่ประกอบด้วย กระดาษแผ่นหนึ่งและพลาสติกอีกแผ่นหนึ่งอาจขึ้นรูปหรือไม่ก็ได้ ทำโดยแนบหรือเชื่อมติดแผ่นกระดาษและแผ่นพลาสติกเข้าด้วยกัน โดยมีสินค้าแทรกอยู่ตรงกลาง บรรจุภัณฑ์ การ์ดนี้มี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบบลิสเตอร์แพ็ค (Blister Pack) และแบบแนบผิว

4.กล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูป

กล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูป เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่สามารถออกแบบตามความประสงค์ของผู้ประกอบ หรือออกแบบให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องกระดาษบรรจุนมกล่อง 12 กล่องแบบมีหูหิ้ว

5.กระป๋องพลาสติกหรือซองพลาสติก

บลรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปอีกชนิดหนึ่งก็คือ กระป๋องพลาสติก ซองพลาสติก กระบอกพลาสติก กระป๋องโลหะ กระป๋องกระดาษ และถาดพลาสติกใสแบบมีฝา

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SME ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ทราบประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหารแปรรูปกันแล้ว คงทำให้สั่งซื้อหรือออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าได้ไม่ยาก



 วิตามิน

เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆ ได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

วิตามินเอ

ช่วยป้องกันการแพ้แสงสว่างของบางคนผู้ที่ต้องการวิตามินเอมาก คือผู้ที่ต้องใช้สายตามาก วิตามินเอมีมากในไขมันเนย น้ำมันปลา ไข่แดง กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่ว ผักสีแดง ผักสีเหลือง

วิตามินดี

ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกอ่อน และควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด อาหารที่ให้วิตามินดีมีน้อยมาก จะมีอยู่ในพวกน้ำมันตับปลา ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากรังสีอุลตราไวโอเลต ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด

วิตามินซี (หรือกรดแอสคอร์บิก)

ค้นพบครั้งแรกในพริกชนิดหนึ่ง เมื่อปี 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียน อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีคือ ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล (เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก






 โปรตีน

โปรตีน (Protein)
        โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ คือ ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ไนโตรเจน (N) และในบางชนิดอาจมีกำมะถัน (S) และฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบร่วมด้วยในร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยโปรตีนถึงประมาณร้อยละ 15-25 ของน้ำหนักตัว โดยโปรตีนในร่างกายนอกจากจะมีบทบาทในการเผาผลาญให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยในการเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ ยังช่วยในการเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
        โปรตีนเป็นสารอาหารที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ โดยจะพบมากในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู ไข่ นม เนยจากสัตว์ เป็นต้น ส่วนในพืชจะพบมากในเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เป็นต้น

1. องค์ประกอบและโครงสร้างของโปรตีน โปรตีนเป็นสารประกอบที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ เกิดจากโมเลกุลของกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากมาสร้างพันธะเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็นสายยาว โดยกรดอะมิโนมีลักษณะเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันทั้งที่เป็นหมู่อะมิโน (-NH2) มีสมบัติเป็นเบส และหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด
    กรดอะมิโนต่าง ๆ จะมีการสร้างพันธะเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวจนเกิดเป็นโมเลกุลของกรดอะมิโนต่าง ๆ ว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) ซึ่งเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนแต่ละโมเลกุล
เนื่องจากโปรตีนเกิดจากกรดอะมิโนจำนวนมากมาเชื่อมต่อกัน ดังนั้นสมบัติของโปรตีนจึงมีความสัมพันธ์กับชนิดของกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบ สัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละชนิด และลำดับการเรียงตัวของกรด ซึ่งโปรตีนในธรรมชาติมีกรดอะมิโนอยู่ 20 ชนิด ดังนั้นจึงสามารถเกิดเป็นโปรตีนชนิดต่าง ๆ มากมาย โดยโปรตีนที่แตกต่างกันก็จะมีคุณสมบัติและบทบาทต่อร่างกายที่แตกต่างกันด้วย

2. สมบัติของโปรตีน สารชีวโมเลกุลประเภทโปรตีนมีสมบัติและความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ดังนี้
    1) โปรตีนไม่ละลายน้ำ แต่อาจมีบางชนิดที่สามารถละลายน้ำได้บ้างเล็กน้อย
    2) มีสถานะเป็นของแข็ง
    3) เมื่อถูกเผาไหม้จะมีกลิ่นเหม็น
    4) สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) โดยมีกรด ความร้อน หรือเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิด เป็นกรดอะมิโนจำนวนมาก โปรตีน + น้ำ -----------> กรด + กรดอะมิโนจำนวนมาก
    5) เมื่อโปรตีนได้รับควมร้อน หรือเมื่อสัมผัสกับสารละลายกรด หรือสารละลายเบส จะทำให้โครงสร้างของโปรตีนเสีย ไป ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เรียกกระบวนการนี้ว่า การแปลงสภาพโปรตีน (denaturation of protein)
    6) โปรตีนสามารถเกิดปฏิกิริยากับคอปเปอร์ (II) - ซัลเฟต (CuSO4) ในสภาพที่เป็นเบส เกิดเป็นตะกอนสีม่วง สีม่วง อมชมพู หรือสีน้ำเงิน ซึ่งปฏิกิริยานี้สามารถใช้ในการทดสอบโปรตีนได้

3. โปรตีนในร่างกาย เมื่อเราบริโภคอาหารที่มีโปรตีน โปรตีนเหล่านั้นจะถูกย่อยสลายจนกระทั่งกลายเป็นกรดอะมิโน แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อนำไปสังเคราะห์โปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นกรดอะมิโนทุกชนิดจึงมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เอง 12 ชนิด ส่วนอีก 8 ชนิดเป็นกรดอะมิโนที่ต้องได้รับจากอาหาร ดังนั้นจึงสามารถแบ่งชนิดกรดอะมิโนได้เป็น 2 ชนิด ตามความจำเป็นในการบริโภค ดังนี้
    1) กรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acids) เป็นกลุ่มของกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องได้รับจากอาหารต่าง ๆ ได้แก่ เทไทโอนีน (Methionine) ทริโอนีน (Threonine) ไลซีน (Lysine) เวลีน (Valine) ลิวซีน (Leucine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine) และทริปโตเฟน (Tryptophan) ส่วนในเด็กทารกจะต้องการรับกรดอะมิโนเพิ่มอีก 1 ชนิด คือ ฮิสติดีน (Histidine) เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต
    2) กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-essential amino acids) เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้ มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายไม่ค่อยคลาดแคลน
ร่างกายของคนเราจะนำกรดอะมิโนต่าง ๆ มาใช้สังเคราะห์เป็นโปรตีนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่ของโปรตีนชนิดนั้น ดังตัวอย่างเช่น
            - คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย มีหน้าที่ในการสร้างเอ็นและกระดูกอ่อน
            - เคราติน (Keratin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย มีหน้าที่ในการสร้างขน ผม เล็บ และผิวหนัง
            - อินซูลิน (Insulin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
            - แอคติน (Actin) และไมโอซิน (Myosin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
            - ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการลำเลียงสารในกระแสเลือด มีหน้าที่ลำเลียงแก๊ส ออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
            - อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวกับระบบคุ้มกันของร่างกาย มีหน้าที่การสร้างภูมิคุ้มกัน

4. โปรตีนจากอาหาร จะเห็นได้ว่าโปรตีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนอยู่เสมอ โดยอาหารที่มีโปรตีนพบได้ทั้งอาหารที่มาจากสัตว์และจากพืช ซึ่งโปรตีนทั้งสองแหล่งมีความแตกต่างกันดังนี้
    1) โปรตีนจากสัตว์เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นอยู่อย่างครบถ้วน ขณะที่โปรตีนจากพืช เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำ ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ 8 ชนิด เช่น ข้าวเจ้าขาดไลซีน ถั่วเหลืองขาดไท โอนีนและทริปโตเฟน เป็นต้น
    2) โปรตีนจากสัตว์เป็นโปรตีนที่ย่อยสลายได้ง่าย ขณะที่โปรตีนจากพืชจะย่อยสลายได้ยากกว่า
อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นอยู่อย่างครบถ้วน ได้แก่ ไข่ และน้ำนม ซึ่งนอกจาก จะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว ยังประกอบด้วยไขมัน ธาตุแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และวิตามินเออีกด้วย จึงถือได้ ว่าอาหารประเภทนี้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปรตีน คือ

 คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเป็นแหล่งกำเนิดและสะสมพลังงานสำรอง เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของพืชและสัตว์ โครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยธาตุ C H และ O มีหมู่ฟังก์ชัน 2 หมู่ คือ หมู่แอลดีไฮด์และหมู่คีโท แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่คาร์โบไฮเดรตอย่างง่ายและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน คาร์โบไฮเดรตอย่างง่ายเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ มอโนแซ็กคาไรด์ โอลิโกแซ็กคาไรด์ และพอลิแซ็กคาไรด์ มอโนแซ็กคาไรด์หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สำคัญได้แก่ กลูโคส ฟรักโทส และกาแลกโทส โอลิโกแซ็กคาไรด์ คือ น้ำตาลที่มีหลายโมเลกุลตั้งแต่ 2-6 โมเลกุล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ไดแซ็กคาไรด์และไทรแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ที่สำคัญได้แก่ มอลโทส ซูโครสและแลกโทส ไทรแซ็กคาไรด์ที่สำคัญได้แก่ ราฟฟิโนส พอลิแซ็กคาไรด์เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากมอโนแซ็กคาไรด์ตั้งแต่ 10 โมเลกุลขึ้นไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดสะสมซึ่งสิ่งมีชีวิตสะสมเอาไว้เป็นแหล่งพลังงานสำรอง ในพืชจะสะสมอยู่ในรูปของแป้ง ในสัตว์จะสะสมอยู่ในรูปของไกลโคเจน พอลิแซ็กคาไรด์อีกชนิดหนึ่ง คือ พอลิแซ็กคาไรด์ชนิดโครงสร้างทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของพืชและสัตว์ เช่น เซลลูโลส ไคติน ไกลโคอะมิโนไกลแคน เป็นต้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีสารอื่น ๆ ปนอยู่ในโมเลกุลด้วย เช่น ไกลโคโปรตีน มีโปรตีนจับกับโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรต ไกลโคลิพิดมีโมเลกุลของลิพิดจับกับโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรต เป็นต้น




 ไขมันเเละน้ำมัน

ไขมันและน้ำมัน (Fat and Oil) 

ไขมันและน้ำมันเป็นเอสเทอร์ชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ จัดว่าเป็นสารอินทรีย์ประเภทเดียวกับไข (Wax) รวมเรียกว่า ไลปิด (Lipid)ไลปิด เป็นเอสเทอร์ที่โมเลกุลมีขนาดใหญ่ไม่มีขั้วจึงไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายไม่มีขั้ว คือตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น คลอโรฟอร์ม อีเทอร์ โพรพาโนน เบนซีน เป็นต้น

ไลปิดซึ่งแบ่งเป็นไขมันและน้ำมันนั้นอาศัยสถานะเป็นเกณฑ์ ไขมันจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ในขณะที่น้ำมันจะเป็นของเหลว ทั้งไขมันและน้ำมันมีโครงสร้างอย่างเดียวกัน คือ เป็นเอสเทอร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกลีเซอรอล กับกรดไขมัน
กลีเซอรอล (glycerol ) เป็นสารประเภทแอลกอฮอล์
กรดไขมัน (fatty acid) เป็นสารประเภทกรดอินทรีย์
เอสเทอร์ที่เป็นไขมัน และน้ำมัน เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่ากลีเซอไรด์ (glyceride) หรือ กลีเซอริล เอสเทอร์ (glyceryl ester)


ปฏิกิริยาการเตรียมไขมันและน้ำมันเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

หมู่อัลคิล ( R ) ทั้ง 3 หมู่ ในไขมันหรือน้ำมัน อาจจะเป็นชนิดเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ อาจจะเป็นสารประเภทอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวก็ได้

ไขมันและน้ำมันพบได้ทั้งในพืชและสัตว์ โดยในพืชส่วนใหญ่จะพบอยู่ในเมล็ดและในผล เช่น มะพร้าว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มะกอก ปาล์ม เมล็ดฝ้าย และเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ในสัตว์จะพบในไขมันสัตว์ ซึ่งสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน เช่น ไขมันวัว หมู แกะ เป็นต้น
ไขมันและน้ำมันมีหน้าที่สำคัญคือ เป็นโครงสร้างที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ โดยที่การเผาผลาญน้ำมัน หรือไขมันอย่างสมบูรณ์จะทำให้เกิดพลังงานประมาณ 37.7 kJ /g (9 kcal/g) เปรียบเทียบกับคาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้พลังงานประมาณ 16.7 kJ/g (4 kcal/g) และโปรตีนซึ่งให้พลังงาน 17.6 kJ/g (4.7 kcal/g จะเห็นได้ว่าไขมันให้พลังงานมากกว่า




 การละลายของสารในน้ำ

 

สารชนิดเดียวกันละลายในตัวทำละลายต่างชนิดได้แตกต่างกัน  คือ

1)  สารบางชนิดอาจไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายชนิดอื่น  เช่น  ลูกเหม็น  เชลแล็ก ไม่ละลายน้ำ  แต่ละลายในแอลกอฮอล์

2)  สารบางชนิดอาจละลายได้ในตัวทำละลายหลายชนิด  เช่น  สีผสมอาหารละลายในน้ำ และละลายในแอลกอฮอล์

เมื่อใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย  สามารถแบ่งสารออกเป็น  2  ประเภท  คือ  สารที่ละลายน้ำ  และสารที่ไม่ละลายน้ำ  จะเห็นว่าสารต่างชนิดกันละลายน้ำได้ต่างกัน

ถ้าตัวละลายเป็นของแข็งละลายในตัวทำละลายที่เป็นของเหลว  ตัวละลายจะแพร่ในตัวทำละลาย  เมื่อตัวละลายละลายหมด จะมองเห็นสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีตะกอน เนื่องจากตัวละลายที่เป็นของแข็งแทรกอยู่ในตัวทำละลาย  เช่น  การละลายของน้ำตาลในน้ำ  การละลายของเกลือในน้ำ  เป็นต้น  ในกรณีที่ตัวละลายไม่ละลายในตัวทำละลาย  แสดงว่าตัวละลายไม่สามารถแทรกตัวในตัวทำละลายชนิดนั้นได้  จึงมองเห็นไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

ความรู้เกี่ยวกับการละลายของสารในตัวทำละลายต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้หลายประการ เช่น สามารถใช้ตัวทำละลายสลายคราบต่าง ๆ ที่ติดอยู่บนเสื้อผ้าได้ เช่น ใช้แอลกอฮอล์ (เอทานอล) ลบรอยหญ้าหรือรอยหมึกจาง ๆ , น้ำเกลือลบรอยเลือด , น้ำนมลบรอยหมึก หรือ การนำเชลแล็กไปละลายในแอลกอฮอล์ก่อนแล้วจึงนำสารละลายเชลแล็กไปทาไม้หรือเฟอร์นิเจอร์ เพื่อให้เกิดความสวยงามและรักษาเนื้อไม้  เป็นต้น

ประเภทของสารละลาย

สารละลายมีหลายประเภท หากใช้เกณฑ์ในการจำแนก จะแบ่งสารละลายออกเป็น 3  กลุ่ม ดังนี้

1. จำแนกตามสถานะของสารละลาย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.1   ของแข็ง เช่น เหรียญบาท ทองเหลือง นาก

1.2   ของเหลว เช่น สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต น้ำเชื่อม น้ำเกลือ

1.3   แก๊ส เช่น แก๊สหุงต้ม อากาศ

2. จำแนกตามปริมาณของตัวละลาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

2.1   สารละลายอิ่มตัว (Saturated  solution)  คือ สารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อตัวทำละลายและอุณหภูมิคงที่  ซึ่งอาจเป็นสารละลายอิ่มตัวพอดี  หรือสารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือ  ถ้าเพิ่มความร้อนให้สารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือละลายได้อีก  จะได้สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด

2.2   สารละลายไม่อิ่มตัว  (Unsaturated  solution)  คือ  สารละลายที่ตัวละลายยังสามารถละลายในตัวทำละลายได้อีก

3.   จำแนกตามความเข้มข้น   แบ่งเป็น  2  ประเภท   คือ

3.1   สารละลายเข้มข้น  คือ  สารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายปริมาณมาก  มีตัวทำละลายปริมาณน้อย

3.2   สารละลายเจือจาง  คือ  สารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายปริมาณน้อย  มีตัวทำละลายปริมาณมาก

ความเข้มข้นของสารละลาย เป็นค่าที่แสดงให้ทราบถึงปริมาณของตัวละลายที่มีอยู่ในปริมาณของสารละลาย  การบอกความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ มี  3  หน่วย  คือ

1.  ร้อยละโดยมวลต่อมวล หรือร้อยละโดยมวล หรือเปอร์เซ็นต์โดยมวล (มวลต่อมวล) เป็นการบอกมวลของตัวละลายในสารละลาย  100  กรัม  เช่น  สารละลายเกลือแกงเข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวล หมายความว่า  มีเกลือแกงละลายอยู่  10  กรัม  ในสารละลาย  100  กรัม  แสดงว่ามีน้ำเป็นตัวทำละลายเท่ากับ  90  กรัม  เป็นต้น  นิยมใช้กับสารละลายที่ทั้งตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของแข็ง

การหาความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวล  หาได้จากสูตร

ร้อยละโดยมวล       =     มวลของตัวละลาย X  100

มวลของสารละลาย

2.  ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร หรือร้อยละโดยปริมาตร หรือเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (ปริมาตรต่อปริมาตร)  เป็นการบอกปริมาตรของตัวละลายที่ละลายในสารละลาย  100   หน่วยปริมาตร  เช่น  สารละลายแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ  25  โดยปริมาตร  หมายความว่า  มีแอลกอฮอล์  25  ลูกบาศก์เซนติเมตร  ละลายอยู่ในสารละลาย  100  ลูกบาศก์เซนติเมตร  กรัม  แสดงว่ามีน้ำเป็นตัวทำละลายเท่ากับ  75  ลูกบาศก์เซนติเมตร  เป็นต้น  นิยมใช้กับสารละลายที่ทั้งตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลว

กระบวนการเกิดสารละลาย เกิดจากสารชนิดหนึ่ง กระจายอยู่ในสาร อีกชนิดหนึ่ง  ถ้ากระจายอย่างสม่ำเสมอ และมองเห็นเหมือนกันทุกส่วน มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน เรียกสารผสมนี้ว่า สารละลาย แต่ถ้ากระจายอยู่อย่างไม่สม่ำเสมอ โดยยังมองเห็นเป็นสารเดิมอยู่ เรียกสารผสมนี้ว่า สารเนื้อผสม สารเนื้อผสมที่มีอนุภาคเล็ก ๆ ของของแข็งกระจายอยู่ในของเหลว หรือแก๊ส เรียกว่า สารแขวนลอย

ในกระบวนการละลาย จะมีสารตัวหนึ่งเป็น ตัวทำละลาย และสารอีกตัวหนึ่งเป็น ตัวละลาย สารใดเป็นตัวทำละลาย หรือเป็นตัวละลาย พิจารณาได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ถ้าตัวละลาย และตัวทำละลายมีสถานนะต่างกัน สารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลาย จัดเป็นตัวทำละลาย สารที่มีสถานะต่างไปจากสารละลาย เป็นตัวละลาย
2. ถ้าตัวละลาย และตัวทำละลายมีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณน้อยกว่าจัดเป็นตัวละลาย  สารที่มีปริมาณมากกว่า จัดเป็นตัวทำละลาย

ร้อยละโดยปริมาตร      =    ปริมาตรของตัวละลาย X 100

ปริมาตรของสารละลาย

3. ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร หรือเปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตร (มวลต่อปริมาตร)  เป็นการบอกมวลของตัวละลายในสารละลาย  100  หน่วยปริมาตร  ซึ่งโดยทั่วไปมวลตัวละลายมีหน่วยเป็นกรัม  และปริมาตรของสารละลายมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร  เช่น  น้ำเชื่อมเข้มข้นร้อยละ  15  โดยมวลต่อปริมาตร  หมายความว่า  มีน้ำตาลทราย   15  กรัม  ละลายในสารละลายปริมาตร  100  ลูกบาศก์เซนติเมตร  เป็นต้น  นิยมใช้กับสารละลายที่เป็นของเหลวโดยมีของแข็งเป็นตัวละลาย

การหาความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร  หาได้จากสูตร

ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร      =   มวลของตัวละลาย X 100 

การละลายได้ (Solubility)

ความสามารถในการละลายของสารชนิดหนึ่งในสารอีกชนิดหนึ่งนั้นสามารถหาได้จาก อัตราส่วนระหว่างตัวถูกละลาย กับตัวทำละลาย หรือ อัตราส่วนระหว่างตัวถูกละลาย กับสารละลาย ในสภาวะที่สารละลายนั้นเป็นสารละลายอิ่มตัว ซึ่งสามาถรบอกเป็นความหนาแน่นสูงสุดของสารละลายนั้นได้อีกด้วยซึ่งขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายประการ เช่น เเรงระหว่างโมเลกุลของตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย อุณหภูมิ ความดัน และปัจจัยอื่นๆ 

สมบัติบางประการของสารละลาย

ตัวทำละลายที่เป็นสารบริสุทธิ์เมื่อเติม  ตัวถูกละลายลงไปกลายเป็นสารละลายจะทำให้สมบัติของตัวทำละลายเปลี่ยนไป  เช่น  ความดันไอ  จุดเดือด  จุดหลอมเหลว  สมบัติดังกล่าวของสารละลาย  เรียกว่า  สมบัติคอลลิเกทีฟ (colligative  properties)  ซึ่งได้แก่

1. การเพิ่มขึ้นของจุดเดือด (boiling  point  elevation)

2. การลดลงของจุดเยือกแข็ง (freezing  point  depression)

3. การลดลงของความดันไอ (vapor  pressure  lowering)

4. การเกิดแรงดันออสโมซิส (osmosis  pressure)




โมเลกุลของน้ำ

น้ำเป็นสารประกอบที่เรารู้จักกันดี เพราะมันอยู่ทั้งในร่างกายของเราและรอบตัวเรา โดยร่างกายของเราประกอบไปด้วยน้ำถึงประมาณ 65% ส่วนโลกของเราก็ประกอบไปด้วยน้ำถึงประมาณ 70% ขณะที่รอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือในบรรยากาศก็ล้วนมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่

 H2O คือ สูตรโมเลกุลของน้ำที่ใช้กันทั่วไปในทางเคมี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำ 1 โมเลกุล ประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม ในชีวิตประจำวันของเราสามารถพบเห็นน้ำได้ทั้งสามสถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ

 ชื่ออื่น ๆ ของน้ำ

นอกจากคำว่า "น้ำ" ที่เรารู้จักกันดีแล้ว น้ำยังมีชื่ออื่น ๆ อีกหลากหลาย เช่น
- ไดไฮโดรเจน มอนอกไซด์ (Dihydrogen monoxide)
- ไฮโดรเจนไฮดรอกไซด์ (Hydrogen hydroxide)
- ไดไฮโดรเจนออกไซด์ (Dihydrogen oxide)
- ไฮโดรเจนมอนอกไซด์ (Hydrogen monoxide)
- ไฮดรอล (Hydrol)

สมบัติของน้ำ

- โดยทั่วไปน้ำบริสุทธิ์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรสชาติ
- โมเลกุลของน้ำสามารถดูดซับรังสีอินฟราเรด อัลตราไวโอเลต และคลื่นรังสีไมโครเวฟได้
- มวลโมเลกุลของน้ำอยู่ที่ 18.01528 กรัมต่อโมล (g/mol)
- น้ำมีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 0 องศาเซลเซียส และจุดเดือดอยู่ที่ 100 องศาเซลเซียส ณ อุณหภูมิห้อง
- ความหนาแน่นของน้ำขณะที่อยู่ในสถานะของเหลว คือ 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m^3) ซึ่งเป็นค่าความหนาแน่นที่สูงสุดของน้ำโดยอยู่ ณ อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ส่วนในสถานะของแข็งจะมีความหนาแน่น 917 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเนื่องจากน้ำแข็งมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมน้ำแข็งจึงลอยน้ำได้นั่นเอง
- มีดัชนีหักเหของแสงอยู่ที่ 1.3330
- น้ำเป็นแอมโฟเทอริก (Amphoteric) หรือมีสภาพเป็นได้ทั้งกรดและเบสหรือเป็นกลาง โดยมีค่า pH อยู่ที่ 7
- มีโครงสร้างผลึกเป็นรูปหกเหลี่ยม
- ไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม ใน 1 โมเลกุลของน้ำ เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ซึ่งทำมุม 105 องศาต่อกัน และแต่ละโมเลกุลของน้ำก็เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน





 ธาตุ

ความหมายของธาตุและสารประกอบ

ธาตุ (Element) คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยธาตุหรือสารชนิดเดียว ไม่สามารถแยกหรือสลายออกเป็นสารอื่นได้ อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอน และ นิวตรอน

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ (Periodictable) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมีคิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev) ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุที่รู้จักมาวางเรียงตามลำดับเลขอะตอมจะพบว่า คุณสมบัติพื้นฐานบางอย่างคล้ายกัน สามารถจำแนกเป็นกลุ่มๆ ได้ทำให้เกิดรูปแบบตารางธาตุ และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นอย่างที่เห็น ตารางธาตุเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วย

ประวัติศาสตร์ของตารางธาตุ

เริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์สได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอมแต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติ ต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกันนักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิ วแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียว กันและเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบพร้อมกันนั้นเขายังได้ ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม(ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม)แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจเนื่อง จากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้า ธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่าดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกันเมื่อดมีตรีสามารถ ทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำและตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่า สงสัยตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นจนถึงยุค ปัจจุบัน

ชื่อธาตุแบ่งตามหมู่

  • หมู่ 1A ลิเทียม (Lithium) โซเดียม (Sodium -Natrium) โพแทสเซียม (Potassium – Kalium) รูบิเดียม (Rubidium) ซีเซียม (Cesium) แฟรนเซียม(Francium)
  • หมู่ 2Aเบริลเลียม (Beryllium) แมกนีเซียม (Magnesium)แคลเซียม (Calcium) สตรอนเชียม (Strontium) แบเรียม (Barium) เรเดียม (Radium)
  • หมู่ 3A โบรอน (Boron) อะลูมิเนียม (Aluminum) แกลเลียม (Gallium) อินเดียม (Indium) แทลเลียม (Thallium)
  • หมู่ 4A คาร์บอน (Carbon) ซิลิกอน (Silicon) เจอร์เมเนียม (Germanium) ดีบุก (Tin -Stannum) ตะกั่ว (Lead – Plumbum)
  • หมู่ 5A ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorous) อะซินิค (สารหนู) (Arsenic) พลวง (Antimony -Stibium) บิสมัท (Bismuth)
  • หมู่ 6A ออกซิเจน (Oxygen) ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) (Sulfur)ซีลีเนียม (Selenium) เทลลูเรียม (Tellurium) พอโลเนียม (Polonium)
  • หมู่ 7A ฟลูออรีน (Fluorine) คลอรีน (Chlorine) โบรมีน (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) แอสทาทีน (Astatine)
  • หมู่ 8A ฮีเลียม (Helium) นีออน (Neon) อาร์กอน (Argon) คริปตอน (Krypton) ซีนอน (Xenon) เรดอน (Radon)

ยกเว้นไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่ง ๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน



 อะตอม

อะตอม เป็นคำที่มาจากภาษากรีกว่า atomos โดยนักปราชญ์กรีกยุคโบราณมีความเชื่อว่า  สิ่งของต่าง ๆ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กมาก  เมื่อแบ่งสารต่าง ๆ ออกไปเรื่อย ๆ จนมีขนาดเล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป  จึงเรียกอนุภาคที่เล็กที่สุดนี้ว่า อะตอม

แบบจำลองอะตอม:เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าสารต่าง ๆ นั้นประกอบด้วยอะตอม  แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีผู้ใดเคยเห็นรูปร่างที่แท้จริงของอะตอม  รูปร่างหรือโครงสร้างของอะตอมจึงเป็นเพียงจินตนาการหรือมโนภาพที่สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการทดลอง  เรียกว่า แบบจำลอง  ซึ่งจัดเป็นทฤษฎีประเภทหนึ่ง  แบบจำลองอะตอมอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามผลการทดลองหรือข้อมูลใหม่ ๆ เมื่อแบบจำลองอะตอมเดิมอธิบายไม่ได้  ดังนั้นแบบจำลองอะตอมจึงได้มีการแก้ไขพัฒนาหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการทดลอง  นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงมากร่วมกับคอมพิวเตอร์  และถ่ายภาพที่เชื่อว่าเป็นภาพภายนอกของอะตอม

วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้








 องค์ประกอบในอากาศ

องค์หลักประกอบกว่า 78.08% ของอากาศ

เป็นก๊าซไนโตรเจน (N2) มีคุณสมบัติที่ไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่น แต่เมื่อมีอะตอมเดี่ยวของมันแยกออกมาจะรวมเข้าเป็นองค์ประกอบของสารอื่น เช่น สารไนเตรท จะมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต และอีกกว่า 20.95% เป็นก๊าซออกซิเจน (O2) ซึ่งเป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงของพืช, สาหร่าย, แพลงตอน และสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังมีความว่องไวในการทำปฏิกิริยากับสารอื่น และช่วยให้ไฟติด ถ้าปริมาณของออกซิเจนในอากาศมีมากกว่า 35% โลกทั้งดวงจะลุกไหม้ติดไฟ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตบนโลกจึงวิวัฒนาการให้มีสัตว์ ซึ่งใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญธาตุอาหาร และคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ส่วนที่เหลืออีก 0.93% ก๊าซอาร์กอน (Ar) เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น เกิดขึ้นจากการสลายตัว (ซากกัมมันตภาพรังสี) ของธาตุโปแตสเซียมภายในโลก และอีก 0.036% เป็นในส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) แม้มีอยู่ในบรรยากาศเพียง 0.036% แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกมีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกจากโลก ทำให้โลกอบอุ่น อุณหภูมิของกลางวันและกลางคืนไม่แตกต่างจนเกินไป นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นแหล่งอาหารของพืช ส่วนที่เหลืออีก 0.01% เป็นในส่วนของก๊าซอื่นๆ โดยทั้งนี้สิ่งที่แสดงให้เราเห็นว่าในอากาศนั้นมีฝุ่นละอองอยู่ คือลำแสงที่ส่องไปในอากาศ โดยเราจะสังเกตพบว่ามีฝุ่นละอองลอยปะปนอยู่ในลำแสงนั้น






อาหาร





  บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหาร การแปรรูปอาหาร (Food Processing) ก็คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีการผลิตจนทำให้สภาพตามธรรมชาติเปลี่ยนไป โดยมีจุ...