วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

 คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเป็นแหล่งกำเนิดและสะสมพลังงานสำรอง เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของพืชและสัตว์ โครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยธาตุ C H และ O มีหมู่ฟังก์ชัน 2 หมู่ คือ หมู่แอลดีไฮด์และหมู่คีโท แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่คาร์โบไฮเดรตอย่างง่ายและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน คาร์โบไฮเดรตอย่างง่ายเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ มอโนแซ็กคาไรด์ โอลิโกแซ็กคาไรด์ และพอลิแซ็กคาไรด์ มอโนแซ็กคาไรด์หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สำคัญได้แก่ กลูโคส ฟรักโทส และกาแลกโทส โอลิโกแซ็กคาไรด์ คือ น้ำตาลที่มีหลายโมเลกุลตั้งแต่ 2-6 โมเลกุล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ไดแซ็กคาไรด์และไทรแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ที่สำคัญได้แก่ มอลโทส ซูโครสและแลกโทส ไทรแซ็กคาไรด์ที่สำคัญได้แก่ ราฟฟิโนส พอลิแซ็กคาไรด์เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากมอโนแซ็กคาไรด์ตั้งแต่ 10 โมเลกุลขึ้นไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดสะสมซึ่งสิ่งมีชีวิตสะสมเอาไว้เป็นแหล่งพลังงานสำรอง ในพืชจะสะสมอยู่ในรูปของแป้ง ในสัตว์จะสะสมอยู่ในรูปของไกลโคเจน พอลิแซ็กคาไรด์อีกชนิดหนึ่ง คือ พอลิแซ็กคาไรด์ชนิดโครงสร้างทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของพืชและสัตว์ เช่น เซลลูโลส ไคติน ไกลโคอะมิโนไกลแคน เป็นต้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีสารอื่น ๆ ปนอยู่ในโมเลกุลด้วย เช่น ไกลโคโปรตีน มีโปรตีนจับกับโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรต ไกลโคลิพิดมีโมเลกุลของลิพิดจับกับโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรต เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหาร การแปรรูปอาหาร (Food Processing) ก็คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีการผลิตจนทำให้สภาพตามธรรมชาติเปลี่ยนไป โดยมีจุ...